วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบหลังเรียน


คำชี้แจง ให้นักเรียนลอกคำถามและคำตอบที่ถูกต้องลงในสมุดเพียงคำตอบเดียว

1. สมัยอยุธยารับรูปแบบการปกครองแบบใดของสุโขทัยเข้ามา
ก) พ่อปกครองล
ข) ธรรมราชา
ค) เทวราชา
ง) ปิตุลาธิปไตย
2. อยุธยาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้เหมาะสมทั้งนี้เนื่องจากอะไร
ก) อิทธิพลของเขมรมีมากกว่าสุโขทัย
ข) อยุธยามีอาณาเขตและผู้คนมากกว่า
ค) การปกครองสุโขทัยทำให้สุโขทัยอ่อนแอ
ง) ไม่อยากเสียศักดิ์ศรีเพราะสุโขทัยมีฐานะเป็นประเทศราช
3. ลักษณะเศรษฐกิจตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อเนื่องถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นข้อใดมีความแตกต่างกันมากที่สุด
ก) หน้าที่ของกรมคลัง
ข) นโยบายของผู้นำ
ค) รูปแบบการเก็บภาษี
ง) สินค้าออกและสินค้าเข้า
4. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นได้มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับศาสนาที่ไม่ปรากฎในสมัยอยุธยา คือเหตุการณ์ใด
ก) การสังคายนาพระไตรปิฎก
ข) การสร้างวัดในพระบรมมหาราชวัง
ค) การส่งสมณทูตไปสืบทอดพระศาสนา
ง) กำหนดพระสงฆ์เป็นฝ่ายอรัญวาสีและคามวาสี
5. เหตุใดจึงเรียกช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 -7 ว่าเป็นช่วงปฏิรูปประเทศ
ก) เพราะเป็นช่วงที่อิทธิพลจากตะวันตกเข้ามามาก
ข)เพราะเป็นช่วงที่ไทยหวาดกลัวจากลัทธิล่าอาณานิคม
ค) เพราะเป็นช่วงที่ไทยได้สร้างและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม
ง) ถูกทุกข้อ
6. สถาบันกษัตริย์จากสุโขทัยถึงปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงในข้อใด
ก. โองการจากสวรรค์
ข) อำนาจในการปกครอง
ค) สิทธิพิเศษในสังคม
ง) ความเคารพเทิดทูนจากประชาชน
7. การเปลียนแปลงด้านใดเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุด
ก) การเปลียนจากระบบปิตุลาธิปไตยเป็นธรรมราชา
ข) การเปลี่ยนจากระบบธรรมราชาเป็นเทวราชา
ค) การเปลี่ยนจากระบบเทวราชาเป็นสมมติเทพ
ง) การเปลี่ยนจากระบบสมมติเทพเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ
8. มูลเหตุใดที่ทำให้เกิดการเปลียนแปลงทางเศรษฐกิจมากที่สุด
ก) การเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์มหาราช
ข) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310
ค) การทำสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษ
ง) การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
9. การปกครองแบบจตุสดมภ์จัดเป็นความสัมพันธ์และต่อเนื่องด้านการปกครองจากสมัยใดถึงสมัยใด
ก) สุโขทัย-อยุธยา
ข) อยุธยา - ธนบุรี
ค) สุโขทัย-รัตนโกสินทร์
ง) อยุธยา - รัตนโกสินทร
10. ลักษณะศิลปกรรมจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันมีความแตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้างขึ้นอยู่กับอะไร
ก) อิทธิพลที่ได้รับ
ข) ความยินยอมของผู้คน
ค)จุดประสงค์ในการสร้าง
ง) เป็นไปได้ทุกข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น