วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำแนะนำ ทักทายก่อนเรียน



สวัสดีครับนักเรียนทุกคน ก่อนที่นักเรียนจะทำแบบทดสอบก่อนเรียน นักเรียนควรเข้าไปดูสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ที่อยู่ในเรื่อง ส31102 ประวัติศาสตร์ (ม. 4) ดูเสร็จแล้ว ทำแบบทดสอบก่อนเรียน(ซื่อสัตย์ด้วยนะครับ)ลงในสมุดส่งครูตามวันที่ครูกำหนด






คอยติดตามคำแนะนำอีกนะครับ

ส31102 ประวัติศาสตร์ ( ม.4 )




หน่วยการเรียนที่ 1
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และ วิธีการทางประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 1 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
สาระสำคัญ
นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่การเกิดและการสิ้นสุดของ เหตุการณ์ สำคัญเป็นเกณฑ์ รวมทั้งได้มีการจัดเรียงลำดับเหตุการณ์อย่างเป็นระบบโดยใช้เวลาหรือศักราชเข้ามาเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันไม่สับสนโดยวิธีการนี้จึงทำให้ผลงานทางประวัติศาสตร์เกิดความน่าสนใจและเข้าใจง่ายขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ความต่อเนื่องของเวลาในประวัติศาสตร์ไทยได้
สาระการเรียนรู้
1. การนับและการเทียบศักราชในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
2. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
3. ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
4. ลำดับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

ทดสอบก่อนเรียน











คำชี้แจง ให้นักเรียนลอกคำถามและคำตอบที่ถูกต้องลงในสมุดเพียงคำตอบเดียว
1. หากนักเรียนอ่านจดหมายเหตุของอยุธยา จะพบว่ามีการบันทึกเหตุการณ์ดดยใช้ศักราชแบบใด
ก) พ.ศ. ข) ม.ศ. ค) จ.ศ. ง) ฮ.ศ.
2. ศักราชแบบใดเป็นศักราชสากล
ก) พ.ศ. ข) ค.ศ. ค) จ.ศ. ง) ฮ.ศ.
3. การใช้ศักราชร่วม (ศ.ร.) จะใช้การนับตามแบบใด
ก) พ.ศ. ข) ค.ศ. ค) ม.ศ. ง) จ.ศ.
4. การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งไทยและสากล จะใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์
ก) เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ข) อาวุธและเครื่องมือที่ขุดพบ
ค ) ลักษณะการดำรงชีวิต ง) ช่วงการดำรงชีวิตของมนุษย์
5. ในประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคใด
ก) ยุคหินเก่า ข) ยุคหินใหม่ ค) ยุคสำริด งป ทุกยุค
6. จังหวัดใดที่ยังไม่เคยขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ก) กาญจนบุรี ข) แม่ฮ่องสอน ค) อุดรธานี ง) กรุงเทพมหานคร
7. ลักษณะเด่นของภาชนะบ้านเชียง คืออะไร
ก) เป็นหม้อสามขามีฝาปิด ข) มีรูปทรงแปลกตาเขียนด้วยสีแดง
ค) เป็นดินเผาและเคลือบด้วยน้ำยา ง) มีรูปทรงคล้ายปัจจุบันเขียนด้วยหลากสี
8. ในตำราประวัตฺศาสตร์ไทย จะมีการแบ่งช่วงสมัยแบบใดมากที่สุด
ก) แบ่งตามรัชกาล ข) แบ่งตามอาณาจักร ค) แบ่งตามเหตุการณ์ ง) แบ่งตามลักษณะการปกครอง
9. ประวัติศาสตร์ไทยในยุคปรับปรุงประเทศจะอยู่ในช่วงใด
ก) สมัยพระนารายณ์แห่งอยุธยา ข) สมัยรัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ค) สมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ง) สมัยปัจจุบัน
10. ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถึงปัจจุบัน มีการเปลียนแปลงด้านใดน้อยที่สุด
ก) รูปแบบการปกครอง ข) รูปแบบเศรษฐกิจ ค) ลักษณะศิลปกรรม ง) การนับถือศาสนา

สาระการเรียนรู้

คลิกเลือกเนื้อหาที่ต้องการจากเมนูข้างล่าง

เนื้อหาเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์ของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์
เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก


หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
คลังข้อมูล
คลังรูปภาพ
คลังบทเรียน
คลังข้อสอบ
คลังข่าว
E-learning
E-portfolio
กระดานข่าว
สมุดเยี่ยม
Blogs
วิธีใช้
ติดต่อเรา
หน้าแรก
วิธีการทางประวัติศาสตร์
เมื่อ เสาร์, 27/02/2010 - 15:18 แก้ไขล่าสุด เสาร์, 27/02/2010 - 15:51 By trmtinna

ใบงาน


ใบงานที่ 1





และลอกแผนภูมิการแบ่งยุคในประวัติศาสตร์ไทยลงในสมุดด้วย

แบบฝึกหัด

ทดสอบหลังเรียน


คำชี้แจง ให้นักเรียนลอกคำถามและคำตอบที่ถูกต้องลงในสมุดเพียงคำตอบเดียว

1. สมัยอยุธยารับรูปแบบการปกครองแบบใดของสุโขทัยเข้ามา
ก) พ่อปกครองล
ข) ธรรมราชา
ค) เทวราชา
ง) ปิตุลาธิปไตย
2. อยุธยาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้เหมาะสมทั้งนี้เนื่องจากอะไร
ก) อิทธิพลของเขมรมีมากกว่าสุโขทัย
ข) อยุธยามีอาณาเขตและผู้คนมากกว่า
ค) การปกครองสุโขทัยทำให้สุโขทัยอ่อนแอ
ง) ไม่อยากเสียศักดิ์ศรีเพราะสุโขทัยมีฐานะเป็นประเทศราช
3. ลักษณะเศรษฐกิจตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อเนื่องถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นข้อใดมีความแตกต่างกันมากที่สุด
ก) หน้าที่ของกรมคลัง
ข) นโยบายของผู้นำ
ค) รูปแบบการเก็บภาษี
ง) สินค้าออกและสินค้าเข้า
4. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นได้มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับศาสนาที่ไม่ปรากฎในสมัยอยุธยา คือเหตุการณ์ใด
ก) การสังคายนาพระไตรปิฎก
ข) การสร้างวัดในพระบรมมหาราชวัง
ค) การส่งสมณทูตไปสืบทอดพระศาสนา
ง) กำหนดพระสงฆ์เป็นฝ่ายอรัญวาสีและคามวาสี
5. เหตุใดจึงเรียกช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 -7 ว่าเป็นช่วงปฏิรูปประเทศ
ก) เพราะเป็นช่วงที่อิทธิพลจากตะวันตกเข้ามามาก
ข)เพราะเป็นช่วงที่ไทยหวาดกลัวจากลัทธิล่าอาณานิคม
ค) เพราะเป็นช่วงที่ไทยได้สร้างและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม
ง) ถูกทุกข้อ
6. สถาบันกษัตริย์จากสุโขทัยถึงปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงในข้อใด
ก. โองการจากสวรรค์
ข) อำนาจในการปกครอง
ค) สิทธิพิเศษในสังคม
ง) ความเคารพเทิดทูนจากประชาชน
7. การเปลียนแปลงด้านใดเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุด
ก) การเปลียนจากระบบปิตุลาธิปไตยเป็นธรรมราชา
ข) การเปลี่ยนจากระบบธรรมราชาเป็นเทวราชา
ค) การเปลี่ยนจากระบบเทวราชาเป็นสมมติเทพ
ง) การเปลี่ยนจากระบบสมมติเทพเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ
8. มูลเหตุใดที่ทำให้เกิดการเปลียนแปลงทางเศรษฐกิจมากที่สุด
ก) การเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์มหาราช
ข) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310
ค) การทำสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษ
ง) การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475
9. การปกครองแบบจตุสดมภ์จัดเป็นความสัมพันธ์และต่อเนื่องด้านการปกครองจากสมัยใดถึงสมัยใด
ก) สุโขทัย-อยุธยา
ข) อยุธยา - ธนบุรี
ค) สุโขทัย-รัตนโกสินทร์
ง) อยุธยา - รัตนโกสินทร
10. ลักษณะศิลปกรรมจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันมีความแตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้างขึ้นอยู่กับอะไร
ก) อิทธิพลที่ได้รับ
ข) ความยินยอมของผู้คน
ค)จุดประสงค์ในการสร้าง
ง) เป็นไปได้ทุกข้อ

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ควรรู้


บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด คืนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ภายใต้เครื่องแบบทหารยศพันจ่าเอก ได้มาปรากฎตัวที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะได้มีการนัดกัน บุคคลที่นายปรีดีนัดแนะมาได้แก่ พล.ต. สมบูรณ์ ศรานุชิต นายปราโมทย์ พึ่งสุนทร์ นายสมพงษ์ ชัยเจริญ นายละออ เชื้อภัย นายกมล ชลศึก นายทวี ตเวกุล และยังมีคนอื่นๆอีกประมาณ 50 คน พรรคพวกของนายปรีดีได้ลำเลียงอาวุธซึ่งได้มาเมื่อคราวเป็นเสรีไทย เข้าไปรวบรวมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นจำนวนมาก นายปรีดี ก็เริ่มวางแผนที่จะยึดอำนาจ คือใช้กำลังส่วนหนึ่งเข้ายึดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เอาไว้ เป็นกองบัญชาการ และรวบรวมสรรพกำลัง ต่อไปคือจะใช้กำลังส่วนหนึ่ง เข้ายึดพระบรมมหาราชวังไว้เป็นกองบัญชาการชั่วคราว ส่วนที่บัญชาการคุมกำลังส่วนใหญ่ หรือเป็นที่รวบรวมสรรพอาวุธอันสำคัญนั้น อยู่ที่กองสัญญาณทหารเรือที่ศาลาแดง กำลังอีกส่วนหนึ่ง นายปรีดี ได้บัญชาการให้ไปยึดบริเวณวัดพระเชตุพนตรงข้ามกับ ร. พัน 1. เพื่อเป็นการตรึงกำลัง ร. พัน. 1 ไว้ เมื่อกำลังส่วนต่างๆ ในพระนคร โดยมีทหารบก พลเรือน ตำรวจเข้ายึดสถานที่สำคัญๆ เพื่อตรึงกำลังของหน่วยทหารบกบางแห่งไว้แล้ว ด้านกลุ่มเสรีไทย ที่เคยร่วมมือกับนายปรีดีต้านญี่ปุ่น ก็จะเคลื่อนกำลังเข้าสสทบโดยเร็วที่สุด โดย นายชาญ บุนนาค ผู้จัดการป่าไม้สัมปทานหัวหิน จะเป็นผู้นำพวกเสรีไทยเข้าสู่พระนคร นายชวน เข็มเพชร นำพวกเสรีไทยภาคตะวันออกได้แก่ ลาว ญวณอิสระ เข้ามาทางอรัญประเทศ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง นายถวิล อุดล และนายเตียง ศิริขันธ์ จะนำพวกเสรีไทยยึดภาคอิสาน แล้วจะนำพวกเสรีไทยเข้ามาสมทบในพระนคร นายเปลว ชลภูมิ จะนำเสรีไทยจากเมืองกาญจนบุรี เข้ามาสมทบอีก สำหรับทหารเรือที่เป็นฝ่ายสนับสนุนนายปรีดีนั้น ก็มี พล.ร.ต. สังวร สุวรรณชีพ พล. ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ ก็จะนำกำลังทหารเรือบางส่วนจากสัตหีบ ชลบุรี ระยอง เคลื่อนทารวมกำลังที่ชลบุรี ต่อจากนั้นจะมุ่งสู่กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินตามแผนการณ์ที่วางไว้ 2 ทุ่มเศษๆ รถยนต์ 4 คัน ภายในรถมีอาวุธและพลพรรคเต็มคันรถ โดยการนำของ ร.อ. วัชรชัย ชัยประสิทธิเวช ได้เคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่มีใครเฉลียวใจว่า รถ 4 คันนั้นเป็นของใคร หน้าประตูวิเศษไชยศรี นายเรือเอก วัชรชัย กระโดลงจากรถ พร้อมด้วยพรรคพวก ก็พร้อมอยู่แล้วสำหรับเหตุการณที่จะเกิดขึ้น จากนั้น ร.อ. วัชรชัย ก็ร้องเรียกให้นายร้อยโทพร เลิศล้ำ ผู้กองรักษาการณ์ ร. พัน. 1 ประจำพระบรมมหาราชวัง ออกมาพบที่หน้าประตู เมื่อ ร.ท. พร ออกมาพบก็ถูกเอาปืนจี้บังคับให้ปลดอาวุธโดยทันที จากนั้นก็บุกเข้าไปปลดอาวุธทหารที่รักษาการณ์ทั้งหมด แล้วเข้ายึดพระบรมมหาราชวังไว้ได้ ก่อนจะลำเรียงอาวุธนานาชนิดเข้าไป... เมื่อการยึดพระบรมมหาราชวังได้เป็นไปตามแผนแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ กับพรรคพวก 7 คน สวมเครื่องแบบทหารสื่อสาร พร้อมอาวุธครบมือ ได้พากันเข้าไปในสถานีวิทยุพญาไท แล้วใช้อาวุธบังคับเจ้าหน้าที่กรมโฆษณาการ แล้วกระจายข่าวว่า... ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ล้มเลิกรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เสีย และคณะรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งด้วย และได้แต่งตั้งนาย ดิเรก ชัยนาม เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงการคลัง ให้นายทวี บุณยเกต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้ประกาศแต่งตั้งและปลดบุคคลสำคัญ อีกหลายคน จากนั้นพวกกบฎก็ถอดชิ้นส่วนของเครื่องวิทยุกระจายเสียงไปด้วย เพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลทำการกระจายเสียงต่อไปได้ คำแถลงการณ์จากวิทยุของพวกกบฎแพรสพัดไปอย่างรวดเร็ว ฝูงชนที่สัญจรไปมา พากันกลับบ้านจ้าละหวั่น เพราะเกรงอันตราย ร้านรวงต่างๆพากันปิดกิจการ เพราะกลัวพวกปล้นสดมภ์จะฉวยโอกาส จอมพล ป. และคณะรัฐบาล จึงออกประกาศเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบถึงการปฎิวัตินั้นว่า รัฐบาลได้ติดตามความเคลื่อนไหวของพวกกบฎอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาเป็นระยะ จึงได้ทราบแน่ชัดว่า ไม่มีวิถีทางใดที่จะหลีกเลี่ยงการนองเลือดได้ จึงเตรียมอยู่ทุกโอกาสที่จะรับมือพวกกบฎ เมื่อการกบฎเกิดขึ้นฝ่ายรัฐบาลจึงได้แต่งตั้งให้ พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกที่ 1 เป็นผู้อำนวยการปราบปรามกบฎคราวนี้ จุดแรกที่นายปรีดี พนมยงค์ และพรรคพวก จะเข้ายึดก็คือ กรมรักษาดินแดน อันอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.อ. จรัส โรมรัน รองเจ้ากรมรักษาดินแดน และทำการปลดอาวุธให้สิ้นเชิง แต่ก็ช้าไป คำสั่งจากกองบัญชาการของรัฐบาลให้เตรียมรับสถานการณ์ จากฝ่ายกบฎ ทำให้ทหารในกรมการรักษาดินแดน จึงพร้อมอยู่เสมอในการที่จะรับการจู่โจมจากฝ่ายกบฎ ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ฝ่ายรัฐบาลก็ลำเลียงกำลังทหารและอาวุธเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ทำให้กรมการรักษาดินแดนมีกำลังต้านทานแข็งแกร่งยิ่งขึ้น แผนการณ์ จู่โจมได้กระทำสำเร็จแล้วในการยึดวังหลวง สำหรับกรมการรักษาดินแดนนั้นล้มเหลว เพราะรัฐบาลสั่งการและป้องกันไว้ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ฝ่ายกบฎจึงได้เปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ ใช้การเจรจาทางการทูตแทน โดยให้คนยกธงขาวขอเปิดการเจรจาด้วยสันติวิธี แต่ได้รับการปฎิเสธไม่ยอมร่วมมือ ทูตสันติจึงกลับไปรายงานถึงความล้มเหลวในการเจรจา และพันเอกจำรัส โรมรัน เจ้ากรมรักษาดินแดนยังได้ยื่นคำขาดให้ฝ่ายกบฎถอยออกไปเสียจากวังหลวง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนรุ่งอรุณ ถ้าไม่ปฎิบัติตามจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อไป ก่อนเสียปืนจะดังขึ้น พลตรีเผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีตำรวจฝ่ายปราบปราม ได้นำกำลังตำรวจสถานีชนะสงครามมายึดกรมโฆษณาการไว้โดยเรียบร้อย ในเวลาเดียวกันรถยนต์หุ้มเกาะขบวนหนึ่งก็วิ่งมาที่กรมโฆษณาการ พร้อมด้วยทหารอาวุธครบมือ นำโดย พลโทหลวงกาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก จากนั้นกำลังทหารอีกหน่วยหนึ่งจากสวนเจ้าเชตุก็มาถึง และเข้าทำการรักษากรมโฆษณาการต่อจากกำลังตำรวจ 23.00 น. ของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นายปรีดี พนมยงค์ ก็ให้ลูกน้องยิงปืนจากท่าวาสุกีไปยังวังสวนกุหลาบ อันเป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหาร โดยฝ่ายกบฎใช้เครื่องยิงลูกระเบิด ค. 85 ชุดแรกยิงไป 4 นัด แต่ลูกกระสุนพลาดเป้าไปตกที่หลังบ้านพลโทสุข ชาตินักรบ ที่แยกราชประสงค์ อันมีทหารเรือยึกเป็นแนวต้านทานอยู่นั้น ก็ได้มีการปะทะกันที่สะพานเฉลิมโลก โดยรถยนต์ของทหารเรือคันหนึ่งได้ปะทะกับกำลังของรัฐบาล ซึ่งคอยสกัดกั้นทหารเรืออยู่ ชั่วครู่ทหารเรือก็พากันหลบหนีไป ทางด้านพระบรมมหาราชวังอันเป็นป้อมปราการของนายปรีดี ยังเปิดฉากยิงเข้าไปใน ร. พัน. 1 มีทหารเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีกหลายนาย ผู้บังคับบัญชาการกองทัพทหารราบที่ 1 ได้สั่งการให้ยิงโต้ตอบไปบ้างเสียงสนั่นกรุง ประมาณ 1 ชั่วโมงก็เงีบยไป ระหว่างนี้ได้มีการเจรจาระหว่างทหารเรือกับทหารบก แต่ไร้ผล เมื่อการเจรจาไม่เป็นผล การปราบปรามก็ต้องกระทำโดยเร่งรีบที่สุด พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงตัดสินใจที่จะบุกพระบรมมหาราชวัง ขบวนรถถังนำโดย พันโทกฤษ ปุณณกันต์ ผู้บัญชาการกองรถรบ ก็บุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี โดยทหารราบและ ป.ต.อ. วิ่งตามเข้าไป พวกฝ่ายกบฎในพระบรมมหาราชวังยิงปืยการดออกมาดังห่าฝน รถถังคันหนึ่งในจำนวนหลายคันถูกปืนบาซูก้ากระหน่ำเสียจนไปต่อไม่ได้ จากนั้นรถถังอีก 2 คันก็พุ่งเข้าชนประตูวิเศษไชยศรีจนประตูเบื้องซ้ายพังลงมา จากนั้นก็พากันบุกเข้าไปอย่างรวดเร็ว เกิดการยิงต่อสู้กันอย่างรุนแรงและหนักหน่วง ในขณะที่มีการต่อสู้กันในพระบรมมหาราชวังนั้น กำลังฝ่ายรัฐบาลอีกส่วนหนึ่งได้โอบล้อมเข้าไปอย่างเงียบๆ โดยกำลังทหาร ร. พัน 1 สวนเจ้าเชตุ ได้เคลื่อนเข้ายึดวังสราญรมย์ และระดมยิงปืนใหญ่ พอเวลา 06.00 น. ประตูสวัสดิ์โสภา และเทวาพิทักษ์ก็พังลง เปิดทางให้ทหารราบกรูกันเข้าไปในพระบรมมหาราชวังได้อีก 2 ทาง ฝ่ายกบฎจึงถูกบีบวงล้อมกระชับขึ้น และตกอยู่ในฐานะลำบาก นายปรีดี พนมยงค์ และชนชั้นหัวหน้า พากันหลบหนีออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูด้านท่าราชวรดิตถ์ โดยเรือโท สิริ ข้าราชการกรมพระธรรมนูญทหารเรือ เป็นผู้นำออกไป แต่เมื่อได้นำตัวนายปรีดีออกไปได้แล้ว ก็เกิดกลัวความผิด จึงได้กระโดดน้ำตายที่ท่าราชวรดิตถ์นั่นเอง ภายหลังการปราบปรามพวกกบฎ ภายในพระบรมมหาราชวังเรียบร้อยแล้วนั้น ทางด้านหนึ่งก็กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด โดยทหารเรือต่อสู้กับทหารบกอยู่ที่สะพานราชเทวี และมักกะสัน พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้นำกำลังที่มีอยู่เคลื่อนมายังบริเวณดังกล่าว ท่ามกลางการต่อสู้กันอย่างดุเดือดนั้น พลเรือตรีประวัติ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้เข้าพบพลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อเปิดเจรจาหยุดยิง พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยอมรับข้อเสนอในการหยุดยิงของฝ่ายทหารเรือ โดยให้ตั้งเวลาหยุดยิงให้ตรงกันคือ 10.15 น. ครั้นได้เวลา 10.15 น. ฝ่ายทหารเรือ ทหารบก ก็หยุดยิงกันตลอดแนว แต่ละฝ่ายก็เคลื่อนกำลังเข้าสู่ที่ตั้งของตน หลังจากปราบปรามพวกกบฎในครั้งนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุม พ.ต.อ. บรรจงศักดิ์ วีพเป็นสุข อดีตผู้บังคับการสันติบาล และ พ.ต. โผน อินทรทัต อดีตผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ แต่ทั้งสองคนถูกตำรวจยิงตาย กบฎวังหลวงยุติลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ส่งพวกของคณะรัฐประหารที่วางใจได้ เข้าสวมตำแหน่งสำคัญๆ ไว้ อิทธิพลในทางการเมืองของนายปรีดี ก็หมดลงไป.
เรื่องแนะนำ:
บทความ กบฎแมนฮัตตัน++ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ++
บทความ ประวัติเมืองปัตตานี
รูป ไอ้ลาย
บทความ : : ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์
บทความ กบฎเมษาฮาวาย!!!! อีกหนึ่งกบฎในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
บทความ กบฎบวรเดช!!! ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน เปิดฉากรบราฆ่าฟันกัน!!!!!


google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);

ท่องเที่ยวกับประวัติศาสตร์

จังหวัดพัทลุง


จังหวัดพัทลุง เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มี พื้นที่อยู่ทางภาคใต้ตอนล่างของ ประเทศไทย โดยมีพื้นที่ใหญ่ เป็นอันดับที่ 58 ของจังหวัดทั้งหมดในประเทศไทย กับพื้นที่มากกว่า 3,424 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,140,296 ไร่ ชาวภาคใต้ จะเรียกจังหวัดพัทลุงว่า เมืองลุง สันนิษฐานกันว่า จังหวัดพัทลุง น่าจะสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย ในอดีตนั้น เมืองพัทลุงเป็นหัวเมือง ที่สำคัญของ ภาคใต้ในฐานะเป็น เมืองพระยามหานคร

อาณาเขตของ จังหวัดพัทลุง
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก มีพื้นทีติดต่อกับ จังหวัดตรัง
ถ้ากล่าวถึงแหล่ง ท่องเที่ยวภาคใต้ จังหวัดพัทลุง น่าจะเป็นจังหวัด ที่นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจอีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากจังหวัดพัทลุง นั้นเป็นเมืองที่มีความเก่าแก่ ทางประวัติศาสตร์ อีกทั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ มีทั้ง เนินเขา ที่ราบลุ่ม และชายฝั่งทะเล จึงทำให้ จังหวัดพัทลุง แหล่ง ท่องเที่ยวภาคใต้ มีทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อยู่มากมาย ดังคำขวัญของ จังหวัดที่ว่า “เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน”

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ภูเขาอกทะลุ ถ้ำคูหาสวรรค์ น้ำตกเขาคราม อุทยานนกน้ำทะเลน้อย บ่อน้ำร้อนธารน้ำเย็น อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ฯลฯ